ประสิทธิภาพของการคัดขนาด
ประสิทธิภาพของการ
คัดขนาดด้วยตะแกรงสามารถหาได้ 2 แบบคือ
1) ประสิทธิภาพของการคัดขนาดด้วยตะแกรง
โดยไม่ต้องคำนึงการกระจายขนาดของสินแร่
ประสิทธิภาพของการคัดขนาดสินแร่ด้วยตะแกรง
สามารถวัดได้โดยหาความสมบูรณ์ (Perfection) ของการ คัดสินแร่ที่ขนาดหนึ่ง ซึ่งหาได้ดังนี้
ให้ F เป็นอัตราการป้อนแร่เข้าตะแกรง (ตัน/ชั่วโมง)
C เป็นอัตราการไหลของสินแร่ที่ค้างอยูบนตะแกรง
(ตัน/ชั่วโมง)
U เป็นอัตราการลอดของสินแร่ผ่านตะแกรง (ตัน/ชั่วโมง) และให้ f
เป็นสัดส่วนของสินแร่ที่มีขนาดโตกวารูตะแกรงในสินแร่ป้อน (F)
c เป็นสัดส่วนของสินแร่ที่มีขนาดโตกวารูตะแกรง ในส่วนที่ค้างอยูบนตะแกรง (C)
u เป็นสัดส่วนของสินแร่ที่มีขนาดโตกวารูตะแกรงในส่วนที่ลอดผ่านรูตะแกรง(U)
โดยปกติแล้ว
ถ้าหากตะแกรงไม่ขาด ค่าของ u = 0
โดยมวลสมดุลของสินแร่ที่ป้อนเข้าตะแกรงคัดขนาด
F = C + U (1)
และโดยมวลสมดุลของสินแร่ที่มีขนาดใหญ่กวารูตะแกรง
Ff = Cc + Uu (2)
และโดยมวลสมดุลของสินแร่ที7มีขนาดเล็กกวารูตะแกรง
F(1 - f) = C(1 - c) + U(1 - u) (3)
C = f – u (4)
F = c – u (5)
และ U/F = (c – f)/(c-u) (6)
การเก็บได้
(Recovery) ของสินแร่ขนาดใหญ่กวารูตะแกรงสามารถเก็บได้เป็นสัดส่วน
Cc/Ff = c(f - u)/ f(c - u) (7)
การเก็บได้ (Recovery) ของสินแร่ขนาดเล็กกวารูตะแกรงสามารถเก็บได้เป็นสัดส่วน
U(1 - u)/ F(1
- f) = [(1 - u) (c - f)] /[ (1 - f) (c - u)] (8)
สมการ (7) และสมการ (8) เป็นการวัดประสิทธิผล
(Effectiveness) ของการคัดสินแร่ขนาดใหญ่ตะแกรง สั่นและสินแร่ขนาดเล็กที่ลอดผ่านรูตะแกรงสั่นตามลำดับ
ดังนั้น ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการคัด ขนาดสินแร่ขนาดใหญ่
และเล็กรวมกัน จึงเท่ากับผลคูณระหว่างสมการ (7) และสมการ (8)
E = [c(f - u) (1 - u) (c - f)] / [f(c - u)2 (1
- f)] (9)
และถ้าตะแกรงที่ใช้ไม่ขาดหรือเป็นรูใหญ่
ค่าของ u = 0 จะได้วาประสิทธิภาพของการคัดขนาดด้วยตะแกรง
ตามสมการ (9) จึงเป็น
E
= [c – f]/ [c(1 - f)]
หรืออาจจะอธิบายได้ว่า ประสิทธิภาพการทำงานของตะแกรง
= [น้ำหนักของสินแร่ที่ผ่านตะแกรง x 100 ]/[ น้ำหนักของสินแร่ที่ควรจะผ่านตะแกรง]
2.ประสิทธิภาพของการคัดขนาดด้วยตะแกรง
โดยที คำนึงถึงการกระจายขนาดของสินแร่
ประสิทธิภาพของการคัดขนาดด้วยตะแกรงแบบนี้
จะพิจารณาถึงการกระจายขนาดของสินแร่เข้าร่วมด้วย วิธีการดังกล่าวคือ การศึกษา Partition Curve หรือ Partition Efficiency Partition Curve ได้จากการเขียนกราฟระหว่าง
Partition Coefficient กั บ Geometric Mean Size ในกราฟเซมิล็อก (Semi-Log)
Partition Coefficient คือ
เปอร์เซ็นต์ของวัตถุขนาดหนึ่งๆ ที่ยังคงค้างอยูบนตะแกรง หรือ
Partition Coefficient (E) = Cc/ Ff = c(f-u)/ f(o-u)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น